วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2/2551
ผศ. สมคิด ดวงจักร์ ผู้ออกข้อสอบ

........................................................................

1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอนผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ตอบ
องค์กรข้าพเจ้าประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในการทำงานจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน จัดทำเว็บไซด์ระบบข้อมูลต่างๆ เช่น สถานที่ตั้ง ข้อมูลบุคลากรของโรงเรียน และรายละเอียดอื่นๆ การรับ- ส่งเอกสารต่างๆคำสั่งต่างๆที่มาจากต้นสังกัดสามารถเปิดดูและโหลดออกมาทำงานได้เลยโดยไม่ต้องเดินทางให้เสียเวลาและสามารถส่งงานได้ทันเวลา การตรวจงานหรือส่งงานให้กับผู้บริหารเราสามารถที่จะดำเนินการทำเป็นรูปของ blog spot เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ลดขั้นตอนการทำงานได้เป็นอย่างดี การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเราได้กรอกข้อมูลลงในเว็บไซด์โดยไม่ต้องเดินทางไปที่คุรุสภาให้เสียเวลา ถือได้ว่าเป็นการประยุกต์ใช้ในระบบสารสนเทศ การกรอกข้อมูลนักเรียนของครูประจำชั้นใช้วิธีการกรอกลงในโปรแกรมของโรงเรียนสามารถที่จะดึงมาใช้ได้ทันที
กรอบความคิด
1.จัดระบบข้อมูลสารสนเทศขององค์กรให้อยู่ในระบบสามารถเชื่อมโยงติดต่อในระบบ
เครือข่ายได้เป็นอย่างดี
2. ให้ความรู้กับบุคลากรเกิดองค์ความรู้เข้าใจถึงระบบสารสนเทศอย่างแท้จริงสามารถนำ
ความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติจริงและเกิดประสิทธิภาพกับตนเองประสิทธิผลกับงานและตัว
ผู้เรียนมากที่สุด
3. ส่งเสริมสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้กับบุคลากรเพื่อที่จะนำไปใช้การจัด
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอน
1. จัดการประชุมร่วมกันในการดำเนินการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศในองค์กรให้ชัดเจน
2. จัดอบรมให้ความรู้ด้วยวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในระบบสารสนเทศให้กับบุคลากรทุกคนและลงมือปฏิบัติจริง
3. ดำเนินการใช้ระบบสารสนเทศให้คลอบคลุมงานทั้ง 4 ด้าน
3.1 การบริหาร
3.2 งานวิชาการ
3.3 งานบุคลากร
3.4 งานงบประมาณและการวางแผน
4. ประเมินผลการดำเนินงานด้วยระบบสารสนเทศ
5. สรุปผลการดำเนินงาน

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทยจงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ
เห็นด้วย กับแผนยุทธศาสตร์ทั้ง 6 แผนที่มุ่งเน้นในการส่งเสริมด้าน ไอซีที เนื่องจากว่าโลกในปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาไม่มีการหยุดนิ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีมากขึ้นการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีทีเป็นการกำหนดหน้าที่และความเหมาะสมให้กับกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนากำลังคนด้านไอซีทีและบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
1. การพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.1 พัฒนาผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้มีทักษะและคุณภาพตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
2. การพัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่นๆและบุคคลทั่วไป
2.1 ส่งเสริมให้มีการนำ ไอซีที มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนในการศึกษาในระบบทุกระดับมากขึ้นแต่มุ่งเน้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสำคัญเน้นการพัฒนาความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาโดยใช้ ไอซีที เป็นเครื่องมือ
2.2 พัฒนาการเรียนรู้ ไอซีที นอกสถาบันการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ไอซีที
2.3 พัฒนาการเรียนรู้ ไอซีที แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุจัดทำและเผยแพร่อุปกรณ์ ไอซีทีเพื่ออำนวยความสะดวก สื่อการเรียนรู้ สำหรับผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆและใช้มาตรการต่างๆเพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล (National ICT Governance)
มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการและการกำกับดูแล กลไกและกระบวนการในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ให้มีธรรมาภิบาล โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีมาตรการ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและการจัดการ ICT ระดับชาติ
2. ปรับปรุงกระบวนการจัดทำ/เสนองบประมาณ และกระบวนการพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้าน ICT ของรัฐ
3. พัฒนา และ/หรือปรับปรุงกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกลไกการบังคับใช้กฎหมาย/กฎระเบียบ เพื่อให้เอื้อต่อการใช้ ICT และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลตัวชี้วัดสถานภาพดารพัฒนา ICT ของประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร ให้มีการกระจายอย่างทั่วถึงไปสู่ประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ และผู้พิการ โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพทันกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยี เพื่อรองรับการการขยายตัวของความต้องการของผู้บริโภค สามารถให้บริการมัลติมีเดีย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และบริการใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อวิถีชีวิตสมัยใหม่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งมุ่งเน้นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เพื่อทำให้สังคมมีความสงบสุข และประชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยมีมาตรการที่สำคัญ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ขยายประเภทบริการ เพิ่มพื้นที่ให้บริการ และปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงข่ายโทรคมนาคม
2. เร่งรัดการสร้างความมั่นคงของระบบสารสนเทศ (Information security)
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อยกระดับการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำหรับบริการภาคสังคมที่สำคัญต่อความปลอดภัยสาธารณะและคุณภาพชีวิตของประชาชน
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงข่ายและทรัพยากร

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ (e-Governance)
มุ่งเน้นให้หน่วยงานของรัฐใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการ สามารถตอบสนองต่อการให้บริการที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โปร่งใส เป็นธรรม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีมาตรการสำคัญประกอบด้วย
1. สร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ
2. ให้ทุกกระทรวงดำเนินการเพื่อพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ
3. สร้างความเข้มแข็งด้าน ICT แก่หน่วยงานของรัฐในภูมิภาคในระดับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ICT ไทย โดยมุ่งเน้นการสร้างงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมาภายในประเทศ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ให้มีความสามารถในการผลิตเทคโนโลยีในระดับต้นน้ำเพิ่มขึ้น ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกิดจากงานวิจัยสู่ผู้ประกอบการ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนท์ให้สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศมากขึ้น ส่วนในอุตสาหกรรมอื่นที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบสมองกลฝังตัว หรือการออกแบบขั้นสูง) แบะอุตสาหกรรมอุปกรณ์โทรคมนาคม ในช่วงแผ่นที่จะเน้นเรื่องการวิจัยพัฒนามุ่งสู่ขีดความสามารถในระดับต้นน้ำ เพื่อพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้เข้าประเทศในระยะต่อไป โดยมาตรการที่สำคัญของยุทธศาสตร์นี้ประกอบด้วย
1. การสนับสนุนด้านเงินทุน/เงินช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่
2. การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ ICT ไทยสู่ระดับสากล
3. การสร้างโอกาสทางการตลาดและโอกาสในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการไทย
4. การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม ICT ทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมภาคการผลิตของประเทศให้เข้าถึงและสามารถใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อก้าวไปสู่การผลิตและการค้าสินค้าและบริการ ที่ใช้ฐานความรู้และนวัตกรรมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ โดยการสร้างคุณค่าของสินค้าและบริการ (Value Creation) และมูลค่าเพิ่มในประเทศ เพื่อพร้อมรองรับการแข่งขันในโลกการค้าเสรีในอนาคต โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการพัฒนาภาคการผลิตและบริการที่ไทยมีศักยภาพ เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ ได้แก่ ภาคการเกษตร การบริการสุขภาพ และการท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก และวิสาหกิจชุมชน โดยมีมาตรการที่สำคัญประกอบด้วย
1. สร้างความตระหนักและพัฒนาขีดความสามารถด้าน ICT ของผู้ประกอบการ
2. เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3. ส่งเสริมการนำ ICT มาใช้ในภาคการผลิตและบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ
4. ยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชน
5. ส่งเสริมการนำ ICT มาใช้ในมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับองค์กรและประเทศอย่างยั่งยืน

3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ
เห็นด้วย เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ตัวอย่าง
1. การก้อปปี้เทปผีซีดีเถื่อนเป็นการละเมิดลิขสิทธ์ทรัพย์สินทางปัญญาทำให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของบริษัทห้างร้านที่ดำเนินการ จึงต้องมีกฎหมายควบคุมและมีบทลงโทษอย่างรุนแรง
2. การแอบถ่ายคลิปวีดิโอและมีการเผยแพร่อนาจาร ทำให้เกิดความเสื่อมเสียในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล จึงต้องมีกฎหมายควบคุมและมีบทลงโทษ
3. การลักลอบขโมยข้อมูลจากหน่วยงานอื่น แล้วนำมาก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเอง ทำให้เกิดความเสียหายในด้านความมั่นคง และละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จึงต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

นายวิรัช ผิวเกลี้ยง ป.บัณฑิต การบริหารการศึกษา รุ่น 8 เลขที่ 20

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น